วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

มือใหม่ใช้งานอินเตอร์เน็ต

มือใหม่ใช้งานอินเตอร์เน็ต เชิญทางนี้

สำหรับใครยังเป็นมือใหม่ และยังใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่คล่อง เชิญทางนี้ วันนี้เรามีคำแนะนำในการใช้งานอินเตอร์เน็ต มาเล่าบอกต่อๆ กัน? คงต้องทำความรู้จักกับคำว่า "Web Browser" กันสักนิด คำๆ นี้หมายถึงโปรแกรมที่ใช้สำหรับการท่องอินเตอร์เน็ต บางคนอาจเรียกสั้นๆ ว่า "Browser" เป็นต้น

เริ่มต้นการใช้งานอินเตอร์เน็ต

  1. ทำความรู้จักโปรแกรมในการท่องโลกอินเตอร์เน็ต
    • เริ่มต้นต้องรู้จักโปรแกรมที่ใช้ในการท่องโลกอินเตอร์เน็ตกันก่อน โดยเฉพาะกับโปรแกรม Windows Internet Explorer มีสัญลักษณ์โลโก้เป็นตัวอักษร "e"?ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานในการใช้งาน และโปรแกรมนี้มีมาพร้อมกับ Windows อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไป download มาจากที่ไหน ยกเว้นแต่ต้องการทดลองใช้โปรแกรมอื่นๆ หรือ upgrade เท่านั้น
    • Mozilla FireFox? อีกหนึ่งโปรแกรมสำหรับท่องอินเตอร์เน็ต สามารถ download และใช้งานได้ฟรี เช่นเดียวกันกับ Windows Internet Explorer จุดเด่นของโปรแกรมนี้อยู่ที่ความเร็วในการใช้งาน หรือเข้าเว็บไซต์?แถมมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สูงมากด้วย
    • โปรแกรมอื่นๆ ได้แก่ Opera, Google Chrome, Safari, Plawan (ของคนไทย) เป็นต้น
  2. ทำความรู้จัก "ลิงค์"?
    • ลิงค์ก็คือการเชื่อมโยงข้อความจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง (หรืออาจเป็นหน้าเดียวกันก็ได้)? จะสังเกตได้ว่ามีลิงค์ตรงไหน ให้ลองเลื่อนเม้าส์ไปวางใกล้ๆ ข้อความ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ" แสดงว่าเป็นลิงค์ ให้คลิกได้เลย? บางเว็บก็แสดงขีดเส้นใต้ให้ด้วย
    • ลิงค์สามารถใช้รูปภาพแทนได้ ลองวางเม้าส์เหนือรูปภาพ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ"? ก็แสดงว่าเป็นลิงค์เหมือนกัน
    • ลิงค์สามารถใช้รูปภาพเคลื่อนไหว (เช่น Flash Animation เป็นต้น) แทนได้ ลองวางเม้าส์เหนือรูปภาพ ถ้าสัญลักษณ์ของเม้าส์ เปลี่ยนจาก "ลูกศร" เป็น "รูปมือ"? ก็แสดงว่าเป็นลิงค์เหมือนกัน
  3. บันทึกรูปภาพบนอินเตอร์เน็ต
    • ถ้าต้องการรูปภาพบนอินเตอร์เน็ต บางเว็บไซต์ก็อนุญาตให้บันทึก หรือ Save ได้ แต่บางเว็บก็ไม่อนุญาต? โดยทั่วไปเราสามารถบันทึกภาพจากอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ เพียงคลิกขวาเหนือรูปภาพ จากนั้นคลิกเลือก Save As หรือ Save Picture As จากนั้นก็เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บรูปภาพ
    • รูปภาพเคลื่อนไหว มีได้หลายประเภท?ตัวอย่างเช่น
      • GIF สามารถบันทึกภาพได้เช่นเดียวกับรูปภาพปกติ
      • Flash Animation ไม่สามารถบันทึกได้ด้วยวิธีปกติ ต้องเข้าไปดูทีโฟลเดอร์ Temporary Internet Files และเลือกไฟล์ที่เราต้องการ ไฟล์จะมีนามสกุล .SWF
      • ไฟล์วีดีโอ เช่น FLV เป็นต้น โดยเฉพาะกับเว็บไซต์ YouTube.com ที่ให้บริการข้อมูลภาพวีดีโอ ถ้าต้องการบันทึก ต้องใช้โปรแกรมพิเศษช่วย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก? เทคนิคการ save ไฟล์วีดีโอจาก YouTube
    • รูปภาพ?Lock ปกติหลายๆ เว็บมีการเขียนโปรแกรมป้องกันการคลิกขวา แต่ความเป็นจริงแล้ว เราสามารคลิกปุ่ม PrtScr (Print Screen) จากแป้นพิมพืได้ ดังนั้น lock ไม่อยู่แน่นอน
  4. เปิดเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บพร้อมกัน
    • เราสามารถเปิดเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บพร้อมๆ กันได้ เพราะบางครั้งเว็บที่เราเข้าไป ยังโหลดข้อมูลไม่เสร็จ ดังนั้น เพื่อไม่เสียเวลา ลองเข้าไปดูอีกเว็บหนึ่งได้ สำหรับผู้ใช้งาน Windows Internet Explorer เวอร์ชั่นใหม่ จะมีความสามารถในการแสดงเว็บมากกว่าหนึ่งเว็บที่แสดงบนแท็ป ลองทดสอบโดยการคลิกเมนู File เลือก New Tab (ถ้ามี) จากนั้นให้พิมพ์ชื่อเว็บใหม่ที่ต้องการ
  5. ค้นหาเว็บทั่วโลก
    • เราสามารถใช้เว็บที่ให้บริการค้นหาเว็บทั่วโลกได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นกับความต้องการค้นหาข้อมูลของเราว่า ต้องการแบบไหน
      • Web Search Engine เว็บที่ให้บริการค้นหาโดยเฉพาะ เพียงแค่พิมพ์ข้อความที่ต้องการในช่องค้นหา เช่น คำว่า "ไอที", "ฟรีแวร์" เป็นต้น คำเหล่านี้เราเรียกว่า Keyword และคลิกค้นหา แค่นี้เว็บนั้นๆ ก็จะแสดงรายชื่อของเว็บที่มีความเกี่ยวข้องกับ keyword ที่เราค้นหาให้? ตัวอย่างเว็บ Web Search Engine ระดับโลกได้แก่ www.google.com, www.bing.com, www.yahoo.com เป็นต้น
      • Web Directory หมายถึงเว็บที่มีจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว เช่น หมวดคอมพิวเตอร์ หมวดท่องเที่ยว หมวดการศึกษา เป็นต้น ทำให้เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่คลิกเลือกเว็บที่ต้องการเท่านั้น? ตัวอย่างเว็บ ได้แก่ www.sanook.com, www.kapook.com เป็นต้น
  6. Download โปรแกรมและข้อมูล
    • อีกหนึ่งบริการจากเว็บไซต์ที่เราเข้าถึง บางเว็บไซต์อาจมีบริการแจกฟรีโปรแกรม แจกรูปภาพ หรือจากวีดีโอ ซึ่งเราสามารถคลิกไฟล์เหล่านั้นได้ทันที ปกติ จะมี หน้าต่างแสดงรายละเอียดให้เรา download และคลิกและรอให้ download ข้อมูลจนเสร็จก่อนใช้งาน
    • ถ้าต้องการให้ download ได้เร็วสุดๆ นอกเหนือจากการซื้อ Internet Speed สูงๆ แล้ว เราจำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยประเภท Download Manager สนใจอ่านรายละเอียดได้ที่ รวมมิตรโปรแกรมช่วย download ให้เร็วขึ้น
  7. ดูหนัง ฟังเพลง
    • ไม่พูดไม่ได้เลย เพราะเป็นอีกหนึ่งวิธีการพักผ่อนโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวช่วย เราสามารถเข้าเว็บไซต์ที่ให้บริการดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ ได้ ไม่ว่าจะเป็น www.SiamTv.info, www.Youtube.com หรือ ค่ายเพลงดังๆ ของไทย เช่น GMM www.gmember.com เป็นต้น
แค่นี้ คงพอให้เราเข้าใจการใช้งานอินเตอร์เน็ตบ้างแล้วน่ะครับ สำหรับเทคนิคการใช้งานอินเตอร์เน็ตอื่นๆ จะนำมาเล่ากันในหัวข้อต่อๆ?ไปครับ ขอให้สนุกกับการเล่นอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องน่ะครับ :)

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

WhatsApp คืออะไร

WhatsApp คืออะไร
          WhatsApp คือ โปรแกรมส่งข้อความ รูปภาพ เสียง และวิดีโอ สำหรับโทรศัพท์มือถือไปยังเพื่อนของเราได้ไม่จำกัด และไม่มีค่าบริการในการส่งข้อความ สามารถทำงานข้ามระบบปฏิบัติการ Android, Windows Phone, Symbian, iOS และ BlackBerry ได้ หากมีโปรแกรม WhatsApp เหมือนกัน การใช้งาน WhatsApp จะต้องมีการเชื่อมต่อผ่าน WiFi, 3G หรือ GPRS/EDGE

 
มันคือโปรแกรมแชท (chat) ที่สามารถใช้ แชทได้ทั้งที่ iPhone และ BB  
สาวก iPhone คงไม่มีใครไม่รู้จักโปรแกรมแชตสุดฮิตอย่าง WhatsApp ซึ่งขึ้นแท่นโปรแกรมแชตอันดับ 1 อย่างไม่ต้องสงสัยแล้ว ถ้าลองเปิด App Store วันนี้ คุณจะเห็นว่า WhatsApp นอกจากจะเป็นแอพพลิเคชั่นอันดับ 1 ในหมวด Social Networking แล้ว ยังเป็นอันดับ 1 ของแอพพลิเคชั่นรวมทุกประเภทอีกด้วย
แอปพลิเคชั่น Whatsapp เป็นแอปฯที่แชทผ่านอินเตอร์เน็ตอีกตัวที่นอกจากสามารถส่งข้อความ ข้อความเสียงและรูปแล้วยังสามารถส่ง contact ที่เรามี อีกทั้งตำแหน่งพิกัดที่เราอยู่ได้อีกด้วย ทั้งนี้ Whatsapp นอกจากเป็นอีกช่องทางที่สามารถใช้สื่อสารแล้วยังช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลา ที่สำคัญมันสามารถใช้แชทข้ามระหว่างระบบ Blacberry กับ iPhone ได้อีกด้วย
คุณสมบัติที่โดดเด่นของ Whatsapp คือ
  • ตอบรับข้อความได้รวดเร็ว พร้อมระบบเตือน (push notifications)
  • สามารถแชทได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน และในแนวนอนจอและแป้นคีย์บอร์ดจะกว้างขึ้นและง่ายต่อการพิมพ์
  • สามารถเก็บข้อความที่สนทนาครั้งก่อนๆ
  • เซฟรูปภาพที่อีกฝ่ายส่งมาไว้ในเครื่องให้อัตโนมัติ
  • สามารถปรับเตือนระบบการเตือนและพื้นหลังได้
หากต้องการแชทกับ Blackberry ต้องให้ผู้ใช้ Blackberry ดาวโหลดโปรแกรม Whatsapp มาใช้ จากนั้นไม่ต้องแอดหรือทำอะไร เพียงแค่ต่างฝ่ายต่างเมมเบอร์อีกฝ่ายไว้ เมื่อเบอร์โทรศัพท์อีกฝ่ายได้ลงทะเบียนกับ Whatsapp เสร็จก็สามารถแชทกันได้เลย ทั้งนี้การแชทผ่าน Whatsapp ต้องใช้อินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็น EDGE/3G และ Wifi ดังนั้นแล้วผู้ใช้ iPhone หรือ Blackberry ที่ไม่ได้เปิดแพ็คเกจแบบใช้อินเตอร์เน็ตแบบไม่อั้น (unlimited) แล้วละก็ อาจใช้งานไม่ได้หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้นควรศึกษาเพิ่มเติมในส่วนนี้ด้วย ส่วนผู้ใช้แพ็คเกจแบบ unlimited นั้นสบายใจได้ แชทฟรี!

เทคนิค Internet Explorer

การใช้งาน Internet Explorer



โปรแกรม Internet Explorer (อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) ก่อนนี้เรียกว่า Microsoft Internet Explorer (ไมโครซอฟท์อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) โดยมีชื่อย่อว่า IE (ไออี) เป็นเว็บเบราว์เซอร์จากไมโครซอฟท์ สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ Internet Explorer เป็นเบราว์เซอร์ที่นิยมใช้มากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548 IE ได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรแกรมระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ตั้งแต่รุ่น วินโดวส์ 95 OSR1 และรุ่นล่าสุดคือ IE9 ซึ่งได้เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว ผ่านทางเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ แต่ปัจจุบันยังมีคนใช้ IE เวอร์ชั่นใหม่ ๆ น้อยอยู่ เนื่องจากบางส่วนอาจจะไม่สามารถอัพเดทเป็นเวอร์ชั่นใหม่ได้ หรือความเคยชิน แต่เพื่อประสิทธิภาพในการรับชมเว็บไซต์ แนะนำให้อัพเดทเป็นเวอร์ชั่นใหม่กันนะครับ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆ

การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML


  เราจะสร้างเว็บเพจได้อย่างไร?  

วิธีที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ


ปัจจุบัน มีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ช่วยในการสร้างเว็บเพจเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทำให้ผู้ใช้ธรรมดาๆ ที่ไม่รู้เรื่องของการเขียนโปรแกรมก็สามารถสร้างเว็บเพจของตัวเองได้แล้ว การสร้างเว็บเพจในปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. สร้างขึ้นด้วยตนเอง โดยการใช้คำสั่งต่างๆ ของภาษา HTML แล้วสั่งงานผ่านทางโปรแกรม Text Editor เช่น Notepad และ Wordpad


ภาพที่ 1 -1 โปรแกรม notepad (ตัวอย่างของโปรแกรมที่เป็น Text Editor)


2. สร้างจากโปรแกรมสำเร็จรูป (Application) ทั่วไป โดยใช้โปรแกรมต่างๆ ที่มีความสามารถในการสร้างเว็บเพจ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้อย่างมากมาย เช่น Microsoft Frontpage, Macromedia Dreamweaver หรือแม้แต่โปรแกรม Microsoft Office ก็สามารถสร้างเว็บเพจได้ ผู้ที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปพวกนี้ไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งต่างๆ ของภาษา HTML ให้ยุ่งยากเลย เพราะโปรแกรมเหล่านี้จะทำการเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ที่ทำไว้ให้เป็นภาษา HTML โดยอัตโนมัติ


ภาพที่ 1-2 โปรแกรม Macromedia Dreamweaver (ตัวอย่างของโปรแกรมสำเร็จรูป)


top

รู้จักกับภาษา HTML

ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาแรกที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้ข้อมูลที่เขียนไปแสดงผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะของข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
ภาษา HTML เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ สามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย ทำให้ได้รับความนิยมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น และตอบสนองต่องานด้านกราฟฟิกมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมภาษา HTML รุ่นใหม่ๆ มีข้อดีต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เช่น
-    สามารถแสดงผลบนเว็บเบราเซอร์ทุกตัวที่สนับสนุน HTML เช่น Microsoft Internet Explorer (I.E.), Netscape Navigator และ American Online เป็นต้น
-    HTML ที่ถูกบันทึกใน Text Editor จะมีชนิดไฟล์เป็น .htm สำหรับระบบปฏิบัติการ DOS และจะมีชนิดไฟล์เป็น .html หรือ .htm ในระบบปฏิบัติการ Windows หรือ ระบบปฏิบัติการ Linux
-    สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจทั่วไปได้ง่าย และไฟล์ที่ได้จะมีขนาดเล็ก เช่น เมื่อเขียนโปรแกรม HTMl จาก Notepad แล้วสามารถนำไปเปิดแก้ไขหรือตกแต่งเพิ่มเติมในโปรแกรม FrontPage หรือ Dreamweaver และโปรแกรมอื่นๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
  

อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต



  ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การทำธุรกิจการค้า หรือแม้กระทั่งทำงานอยู่ที่บ้าน ผู้คนส่วนใหญ่
มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กร  สถาบันการศึกษา สถานบริการต่างๆ ตลอดจนบริษัทห้างร้าน จะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต  เราจะพบว่าชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ จะปรากฏให้เห็นจนชินตาตามสื่อต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสารและตามสื่อโฆษณามากมาย

                อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ แม้กระทั่งกลายเป็นสื่อที่จำเป็นของภาครัฐในการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร ออกไป สู่สังคมภายนอกให้ได้ทราบ นี่คือสภาพแห่งความเป็นจริงของสังคมโลกที่ไม่สามารถจะปฏิเสธได้
                หากจะกล่าวถึงอินเทอร์เน็ต ก็คงจะต้องกล่าวถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) ควบคู่กันไป ด้วยเหตุที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะรวมเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านทางระบบการสื่อสาร (communications) เช่น ทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ โมเด็ม และ ดาวเทียม เป็นต้น
                เครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดของโลก เราเรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" (internet) ซึ่งรวมเอาเครือข่ายต่างๆ จำนวนมหาศาลที่มีอยู่ทั่วโลกมาเชื่อมต่อ (links) เข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยแต่ละเครือข่ายจะจัดกลุ่มของข้อมูลกันเองเพื่อสะดวกต่อการที่จะเข้าไปสืบค้นข้อมูลได้ อย่างสะดวก รวดเร็ว
               ระบบเครือข่ายจำนวนมากรวมเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักนิยมเรียนสั้นๆ ว่า "เน็ต" (Net) อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิบริโภคอย่างเท่าเทียมกันไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ โดยแต่ละองค์กร หรือหน่วยงานก็จะรับผิดชอบดูแลในส่วนของตนที่เกี่ยวข้อง มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลกที่เข้ามา
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและใช้บริการด้วยเหตุผลและความต้องการที่ต่างๆ กันซึ่งพอที่จะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ คือ



สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยเพื่อค้นคว้าหาข้อมูล  ข่าวสาร  งานวิจัย และ เพื่อการศึกษา
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยเพื่อจัดการเกี่ยวกับธุรกิจ  การเงิน  การซื้อขายสินค้า
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยเพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยเพื่อหาซื้อสินค้า และบริการต่าง ๆ
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยเพื่อพบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่น
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยเพื่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอื่นๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูล
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยรับส่งจดหมาย เอกสาร ข้อความ
บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย
เวิลด์ ไวด์ เว็บ WWW
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยFTP
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยTelnet
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยUseNet Newsgroups
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยChat

ประวัติของอินเทอร์เน็ต

ประวัติของอินเทอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา
อินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ ประมาณปี พ.ศ. 2512  เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน
โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภารกิจหลักเพื่อใช้ในงานวิจัยทางทหาร
โดยใช้ชื่อว่า "อาร์ปา"
(ARPA : Advanced Research Project  Agency)
 

เครือข่าย ARPANET OCTOBER 1980
                ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พา ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจาก
อาร์ปา มาเป็นดาร์พา (Defence Communication Agency)  ในปี 2526 อาร์ปาเน็ตได้แบ่งเป็น 2 เครือข่าย ด้านงานวิจัยใช้ชื่อว่าอาร์ปาเน็ตเหมือนเดิม  ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก
                ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSF) ได้ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์
คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า  NSFNET  และพอมาถึงในปี 2533 อาร์ปาเนตไม่สามารถ ที่จะรองรับ ภาระที่
เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทน
มาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ โดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่
่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อย มากมายทั่วโลก
 
                อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศ
ออสเตรเลีย  แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (
NECTEC),
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
 
                เครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับ
เครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษา และการวิจัย
เท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
 
                ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสาร
แห่งประเทศไทย (กสท) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ต ให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัคร
เป็นสมาชิก ตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า "ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต"

หรือ ISP (Internet Service Provider)

พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550



พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้